Article

5เคล็ดลับ เรียนศิลปะให้สนุก

การเรียนศิลปะสามารถสร้างประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นและสร้างสรรค์ ได้ แต่บางครั้งความท้าทายและความเครียดก็อาจทำให้เกิดความรู้สึกหนักหน่วงเกินไป ทั้งที่ศิลปะนั้นสามารถช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มความพอใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะได้ ลองใช้เคล็ดลับเหล่านี้เพื่อทำให้การเรียนศิลปะของคุณสนุกยิ่งขึ้น!! ลองใช้วัสดุใหม่ๆ การทดลองใช้วัสดุใหม่ๆ เช่น สีน้ำมัน, สีอะคริลิค, หรือวัสดุรีไซเคิล สามารถเปิดโลกใหม่ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ ลองเล่นกับเทคนิคที่คุณไม่เคยลองมาก่อน เช่น การสร้างลวดลายด้วยการปาดสี หรือการใช้สื่อผสม เพื่อค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่อาจทำให้คุณหลงรักศิลปะมากขึ้น ตั้งเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมและท้าทาย การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนสามารถช่วยให้การเรียนศิลปะมีทิศทางและสนุกสนานมากขึ้น คุณอาจตั้งเป้าหมายในการสร้างผลงานที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น การวาดภาพเหมือนบุคคลในครอบครัว หรือการสร้างงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับความสนใจส่วนตัว เช่น การออกแบบโปสเตอร์สำหรับกิจกรรมที่คุณรัก แบ่งปันงานของคุณกับผู้อื่น การแชร์งานศิลปะของคุณกับเพื่อนหรือครอบครัวไม่เพียงแต่ทำให้คุณรู้สึกภูมิใจ แต่ยังสามารถรับความคิดเห็นและแรงบันดาลใจจากคนรอบข้างได้ ลองเข้าร่วมกลุ่มศิลปินออนไลน์หรือเข้าร่วมงานนิทรรศการท้องถิ่นเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และไอเดีย  ทำงานศิลปะในสภาพแวดล้อมที่สร้างแรงบันดาลใจ การสร้างสรรค์ในสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบายและเต็มไปด้วยแรงบันดาลใจสามารถทำให้การเรียนศิลปะสนุกยิ่งขึ้น จัดพื้นที่ทำงานให้เรียบร้อยและเติมเต็มด้วยสิ่งที่คุณชอบ เช่น รูปภาพที่สร้างแรงบันดาลใจ ดนตรีที่โปรด หรือแม้แต่การจัดไฟให้เหมาะสมเพื่อเพิ่มความเพลิดเพลินในการทำงาน                    5. เล่นสนุกและไม่ซีเรียสเกินไป              …

Read article

Sensory Play คืออะไร

Sensory Play คืออะไร?การเล่นผ่านทางระบบรับความรู้สึก ที่ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัส ทั้ง 5 อันได้แก่การสัมผัส การดมกลิ่น การมองเห็น รสชาติ เเละเสียง รวมถึงการเคลื่อนไหว ความสมดุล และการรับรู้เชิงพื้นที่ด้วยโดยเกือบทุกประสบการณ์ที่เด็กมีส่วนร่วม จะเกิดการกระตุ้นประสาทสัมผัสอย่างน้อยหนึ่งอย่าง อย่างไรก็ตาม การเล่นบางประเภทจะกระตุ้นประสาทสัมผัสมากกว่าประเภทอื่นๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะได้รับประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสทั้งหมด ถึงแม้การกระตุ้นให้เด็กลองทำสิ่งใหม่ๆ จะเป็นเรื่องดี แต่ก็อย่ากดดันให้เด็กทำสิ่งต่างๆ มากเกินไป ประโยชน์ของการเล่นทางประสาทสัมผัสคืออะไร? เมื่อแรกเกิด ประสาทสัมผัสของเด็กยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พวกเขาสามารถพัฒนาเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อเด็ก ๆ มีส่วนร่วมกับโลกรอบตัวพวกเขา ซึ่งหมายความว่าเด็กทารก เด็กเล็ก และเด็กก่อนวัยเรียนจะเรียนรู้เกี่ยวกับโลกด้วยการสัมผัส การชิม การดมกลิ่น การเห็น การได้ยิน และการเคลื่อนไหวร่างกาย  เนื่องจากประสาทสัมผัสของเด็กเล็กยังคงพัฒนาอยู่ ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสใหม่แต่ละอย่างจึงสร้างเส้นทางประสาทที่พัฒนาศักยภาพของสมอง การเจริญเติบโตของสมองที่เกิดขึ้นจากการเล่นด้วยประสาทสัมผัสจะช่วยเพิ่มประสาทสัมผัสของเด็ก ซึ่งพวกเขาจะสามารถใช้ในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กมีส่วนร่วมกับพื้นผิวต่างๆ พวกเขาจะเรียนรู้ว่าพื้นผิวใดหยาบ/เรียบ แข็ง/นุ่ม และเปียก/แห้ง ตระหนักนี้เป็นขั้นตอนแรกในการเรียนรู้การจำแนกและจัดเรียงวัตถุ Sensory Play ประตูสู่โอกาสการเรียนรู้– ทักษะทางภาษา – ทักษะการประสานงาน– ทักษะการแก้ปัญหา– ทักษะการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม   – ทักษะการควบคุมตนเอง (อารมณ์และพฤติกรรม)  –…

Read article
Article

พัฒนาการด้านศิลปะในแต่ละช่วงวัย

มีคำถามที่ผู้ปกครองมักถามคุณครูบ่อยๆ เกี่ยวกับเด็กๆ คือลูกๆ ทำได้ดีแล้วหรือยัง? ทำได้เท่านี้ปกติมั้ยคะ คุณครูที่โรงเรียบอกว่าเค้าระบายสีไม่สวย วาดรูปไม่ได้ จนทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเกิดความกังวลในตัวลูก วันนี้คุณครูจะมาบอกเล่าเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กๆ ตามทฤษฎีของ Erik H. Erikson (นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน) ที่มีความเชื่อมโยงกับการขีดเขียนวาดรูปของเด็กๆ จากการวิเคราะห์เด็กและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็ก ที่ศึกษาจากการอบรมเลี้ยงดู สภาพสังคม และความเป็นอยู่ นำมาเชื่อมโยงระหว่างจิตวิทยากับสังคมวิทยา จนเกิดแนวคิดว่ามนุษย์ต้องพึ่งพาสังคมและสังคมต้องพึ่งมนุษย์ จนมีวิวัฒนาการที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน จนได้มีการแบ่งพัฒนาการทางบุคลิคภาพออกมาถึง 8ขั้น แต่ในที่นี้คุณครูจะเปรียบเทียบกับช่วงอายุเด็กที่เชื่อมโยงกับการขีดเขียนรูปเพียง 4ขั้นดังนี้ ขั้นที่1 ระยะทารก (0-2ปี) ระยะขวบแรกที่เด็กจะเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส ดู-ฟัง-รับรส-สัมผัส-กลิ่น จากการกอดรัดสัมผัส พูดคุยเล่นด้วย การดูดนมแม่ การมองเห็นสิ่งของ ดังนั้น Sensory Play หรือการเล่นที่ส่งเสริมให้เด็กสำรวจสิ่งรอบตัวด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จึงเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็กได้เป็นอย่างดี ขั้นที่2 วันเริ่มต้น (2-3ปี) เป็นวัยที่เด็กๆจะได้เริ่มเรียนรู้ที่จะกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง หากได้รับการสนับสนุน การกระตุ้นให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตนเองพอสมควรนั้น จะทำให้เด็กได้มีการพัฒนาทางด้านสมองและร่างกายไปในตัว เช่นการพัฒนาและส่งเสริมกล้ามเนื้อมือมัดเล็ก…

Read article
Article สอนเด็กใช้กรรไกร สำหรับงานศิลปะ

อย่าให้เด็กเล่นกรรไกรมันอันตราย

อย่าให้เด็กเล่นกรรไกรมันอันตราย! หลายครั้งที่เรามักเคยได้ยินญาติผู้ใหญ่ คอยดุเตืิอนเสมอ ที่เด็กๆหยิบกรรไกรขึ้นมา ราวกับว่าเป็นเข็มอาบยาพิษของแม่มดที่กลัวออโรร่าจะไปจับยังไงอย่างงั้น . . แต่หากเรามองในเรื่องของการพัฒนาทักษะพึงมีของเด็กๆแล้วล่ะก็ กรรไกรถือเป็นอุปกรณ์ที่ท้าทายอย่างหนึ่งที่ช่วยฝึกทั้งกล้ามเนื้อมือมัดเล็ก ไปพร้อมๆกับการฝึกสมาธิได้ในคราวเดียวกัน ซึ่งสำคัญที่สุดคือ คุณพ่อหรือคุณแม่ควรจะอยู่กับน้อง ในการใช้กรรไกร โดยเริ่มจากการฝึกจับกรรไกรให้ถูกต้อง การออกแรงถ่างกรรไกรด้วยมือเดียว เมื่อเด็กๆจับอย่างถูกต้องได้แล้ว อาจให้เริ่มจากตัดกระดาษตามเส้นตรง ด้วยความยาวประมาณ 15 ซม. ก่อนจะค่อยๆขยับเป็นนรูปทรงสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม หรือรูปร่างที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตามทักษะ และอาจต่อยอดขึ้นงานศิลปะอย่างการตัดกระดาษเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น ตัดวงกลม แล้วนำมาเเปะเป็นรูปภาพ ดอกไม้ หรือพระอาทิตย์ หรือรูปอื่นๆตามจินตนาการเด็กๆ ก็ได้ . . อย่าลืมที่จะชื่นชมผลงานที่ลูกทำด้วยนะคะ เพราะคำชมเล็กๆน้อยจากคุณฑ่อคุณแม่ ถือเป็นกำลังใจที่ยิ่งใหญ่สำหรับลูกน้อยเลยล่ะค่ะ

Read article
Article ทำอย่างไรเมื่อลูก เอาแต่ใจ

ทำอย่างไรเมื่อลูก เอาแต่ใจ

ทำอย่างไรเมื่อลูก เอาแต่ใจ ไม่เฉพาะเพียงแต่สิ่งที่ถูกสอนถึงจะเกิดการเรียนรู้ แต่ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ไม่ถูกสอนก็เกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาต่อไปเป็นนิสัยได้เหมือนกัน   คุณพ่อคุณแม่เคยเจอเหตุการณ์เช่นนี้หรือไม่?   ขัดใจปุ๊ปร้องไห้ปั้ป หนักๆเข้าก็ลงไปดิ้นกับพื้นจนกว่าพ่อแม่จะยอมทำในสิ่งท่ี่ลูกต้องการ   เพราะเด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่ยังเป็นทารก คือเมื่อรู้สึกว่าตัวเองหิว เมื่อร้องไห้แล้วมีน้ำนมให้กิน เด็กจะเรียนรู้ว่า หิวให้ร้องแล้วจะได้กินนมให้อิ่ม เมื่อทำซ้ำจึงเกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เมื่อต้องการอะไรมากๆ ก็ให้เพิ่มความต้องการให้รุนแรงขึ้นไปอีก และหากพ่อแม่ใจอ่อน ยอมตกหลุมพรางความต้องการโดยปราศจากเหตุผลนั้นแล้ว ก็จะทำให้เด็กๆ เรียนรู้ได้เองตามธรรมชาติ ถึงวิธีสนองความต้องการ คือแสดงพฤติกรรมทีทรุนแรงมากขึ้น จนพัฒนากลายเป็นนิสัยเมื่อเติบโตขึ้น . . ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ธรรมชาติของเด็กวัยนี้ (ช่วง 6 ขวบแรก) เป็นช่วงของการเรียนรู้ การเอาแต่่ใจ และการยอมรับฟัง ที่จะเกิดขึ้นผสมผสานกันไป เป็นช่วงที่พ่อแม่ห้ามใจอ่อน และต้องเริ่มฝึกให้เขาไม่ติดนิสัยการเอาแต่ใจ . . แล้วจะเเก้ไขอย่างไรดีคะ?   ต้องเริ่ีมฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองตั้งแต่ยังเล็ก (เริ่มตอน2ขวบ) เริ่มใส่เสื้อผ้าเอง กินข้าวเอง พาไปเจอเพื่อนในวัยเดียวกันเพื่อให้เกิดเรียนรู้ การแบ่งปัน การได้รับการให้ เวลาที่ลูกร้องไห้โวยวายเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ (ประเภทลงไปดิ้นกับพื้น) สิ่งแรกที่ควรทำคือ การเข้าไปกอดลูกไว้…

Read article