5เคล็ดลับ เรียนศิลปะให้สนุก

การเรียนศิลปะสามารถสร้างประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นและสร้างสรรค์ ได้ แต่บางครั้งความท้าทายและความเครียดก็อาจทำให้เกิดความรู้สึกหนักหน่วงเกินไป ทั้งที่ศิลปะนั้นสามารถช่วยกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มความพอใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะได้ ลองใช้เคล็ดลับเหล่านี้เพื่อทำให้การเรียนศิลปะของคุณสนุกยิ่งขึ้น!! ลองใช้วัสดุใหม่ๆ การทดลองใช้วัสดุใหม่ๆ เช่น สีน้ำมัน, สีอะคริลิค, หรือวัสดุรีไซเคิล สามารถเปิดโลกใหม่ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ ลองเล่นกับเทคนิคที่คุณไม่เคยลองมาก่อน เช่น การสร้างลวดลายด้วยการปาดสี หรือการใช้สื่อผสม เพื่อค้นพบสิ่งใหม่ๆ ที่อาจทำให้คุณหลงรักศิลปะมากขึ้น ตั้งเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมและท้าทาย การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนสามารถช่วยให้การเรียนศิลปะมีทิศทางและสนุกสนานมากขึ้น คุณอาจตั้งเป้าหมายในการสร้างผลงานที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น การวาดภาพเหมือนบุคคลในครอบครัว หรือการสร้างงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับความสนใจส่วนตัว เช่น การออกแบบโปสเตอร์สำหรับกิจกรรมที่คุณรัก แบ่งปันงานของคุณกับผู้อื่น การแชร์งานศิลปะของคุณกับเพื่อนหรือครอบครัวไม่เพียงแต่ทำให้คุณรู้สึกภูมิใจ แต่ยังสามารถรับความคิดเห็นและแรงบันดาลใจจากคนรอบข้างได้ ลองเข้าร่วมกลุ่มศิลปินออนไลน์หรือเข้าร่วมงานนิทรรศการท้องถิ่นเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และไอเดีย  ทำงานศิลปะในสภาพแวดล้อมที่สร้างแรงบันดาลใจ การสร้างสรรค์ในสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบายและเต็มไปด้วยแรงบันดาลใจสามารถทำให้การเรียนศิลปะสนุกยิ่งขึ้น จัดพื้นที่ทำงานให้เรียบร้อยและเติมเต็มด้วยสิ่งที่คุณชอบ เช่น รูปภาพที่สร้างแรงบันดาลใจ ดนตรีที่โปรด หรือแม้แต่การจัดไฟให้เหมาะสมเพื่อเพิ่มความเพลิดเพลินในการทำงาน                    5. เล่นสนุกและไม่ซีเรียสเกินไป              …

Sensory Play คืออะไร

Sensory Play คืออะไร?การเล่นผ่านทางระบบรับความรู้สึก ที่ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัส ทั้ง 5 อันได้แก่การสัมผัส การดมกลิ่น การมองเห็น รสชาติ เเละเสียง รวมถึงการเคลื่อนไหว ความสมดุล และการรับรู้เชิงพื้นที่ด้วยโดยเกือบทุกประสบการณ์ที่เด็กมีส่วนร่วม จะเกิดการกระตุ้นประสาทสัมผัสอย่างน้อยหนึ่งอย่าง อย่างไรก็ตาม การเล่นบางประเภทจะกระตุ้นประสาทสัมผัสมากกว่าประเภทอื่นๆ แต่ก็ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะได้รับประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสทั้งหมด ถึงแม้การกระตุ้นให้เด็กลองทำสิ่งใหม่ๆ จะเป็นเรื่องดี แต่ก็อย่ากดดันให้เด็กทำสิ่งต่างๆ มากเกินไป ประโยชน์ของการเล่นทางประสาทสัมผัสคืออะไร? เมื่อแรกเกิด ประสาทสัมผัสของเด็กยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พวกเขาสามารถพัฒนาเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อเด็ก ๆ มีส่วนร่วมกับโลกรอบตัวพวกเขา ซึ่งหมายความว่าเด็กทารก เด็กเล็ก และเด็กก่อนวัยเรียนจะเรียนรู้เกี่ยวกับโลกด้วยการสัมผัส การชิม การดมกลิ่น การเห็น การได้ยิน และการเคลื่อนไหวร่างกาย  เนื่องจากประสาทสัมผัสของเด็กเล็กยังคงพัฒนาอยู่ ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสใหม่แต่ละอย่างจึงสร้างเส้นทางประสาทที่พัฒนาศักยภาพของสมอง การเจริญเติบโตของสมองที่เกิดขึ้นจากการเล่นด้วยประสาทสัมผัสจะช่วยเพิ่มประสาทสัมผัสของเด็ก ซึ่งพวกเขาจะสามารถใช้ในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กมีส่วนร่วมกับพื้นผิวต่างๆ พวกเขาจะเรียนรู้ว่าพื้นผิวใดหยาบ/เรียบ แข็ง/นุ่ม และเปียก/แห้ง ตระหนักนี้เป็นขั้นตอนแรกในการเรียนรู้การจำแนกและจัดเรียงวัตถุ Sensory Play ประตูสู่โอกาสการเรียนรู้– ทักษะทางภาษา – ทักษะการประสานงาน– ทักษะการแก้ปัญหา– ทักษะการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม   – ทักษะการควบคุมตนเอง (อารมณ์และพฤติกรรม)  –…

พัฒนาการด้านศิลปะในแต่ละช่วงวัย

มีคำถามที่ผู้ปกครองมักถามคุณครูบ่อยๆ เกี่ยวกับเด็กๆ คือลูกๆ ทำได้ดีแล้วหรือยัง? ทำได้เท่านี้ปกติมั้ยคะ คุณครูที่โรงเรียบอกว่าเค้าระบายสีไม่สวย วาดรูปไม่ได้ จนทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านเกิดความกังวลในตัวลูก วันนี้คุณครูจะมาบอกเล่าเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กๆ ตามทฤษฎีของ Erik H. Erikson (นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน) ที่มีความเชื่อมโยงกับการขีดเขียนวาดรูปของเด็กๆ จากการวิเคราะห์เด็กและทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็ก ที่ศึกษาจากการอบรมเลี้ยงดู สภาพสังคม และความเป็นอยู่ นำมาเชื่อมโยงระหว่างจิตวิทยากับสังคมวิทยา จนเกิดแนวคิดว่ามนุษย์ต้องพึ่งพาสังคมและสังคมต้องพึ่งมนุษย์ จนมีวิวัฒนาการที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน จนได้มีการแบ่งพัฒนาการทางบุคลิคภาพออกมาถึง 8ขั้น แต่ในที่นี้คุณครูจะเปรียบเทียบกับช่วงอายุเด็กที่เชื่อมโยงกับการขีดเขียนรูปเพียง 4ขั้นดังนี้ ขั้นที่1 ระยะทารก (0-2ปี) ระยะขวบแรกที่เด็กจะเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัส ดู-ฟัง-รับรส-สัมผัส-กลิ่น จากการกอดรัดสัมผัส พูดคุยเล่นด้วย การดูดนมแม่ การมองเห็นสิ่งของ ดังนั้น Sensory Play หรือการเล่นที่ส่งเสริมให้เด็กสำรวจสิ่งรอบตัวด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จึงเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็กได้เป็นอย่างดี ขั้นที่2 วันเริ่มต้น (2-3ปี) เป็นวัยที่เด็กๆจะได้เริ่มเรียนรู้ที่จะกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง หากได้รับการสนับสนุน การกระตุ้นให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตนเองพอสมควรนั้น จะทำให้เด็กได้มีการพัฒนาทางด้านสมองและร่างกายไปในตัว เช่นการพัฒนาและส่งเสริมกล้ามเนื้อมือมัดเล็ก…

สอนเด็กใช้กรรไกร สำหรับงานศิลปะ

อย่าให้เด็กเล่นกรรไกรมันอันตราย

อย่าให้เด็กเล่นกรรไกรมันอันตราย! หลายครั้งที่เรามักเคยได้ยินญาติผู้ใหญ่ คอยดุเตืิอนเสมอ ที่เด็กๆหยิบกรรไกรขึ้นมา ราวกับว่าเป็นเข็มอาบยาพิษของแม่มดที่กลัวออโรร่าจะไปจับยังไงอย่างงั้น . . แต่หากเรามองในเรื่องของการพัฒนาทักษะพึงมีของเด็กๆแล้วล่ะก็ กรรไกรถือเป็นอุปกรณ์ที่ท้าทายอย่างหนึ่งที่ช่วยฝึกทั้งกล้ามเนื้อมือมัดเล็ก ไปพร้อมๆกับการฝึกสมาธิได้ในคราวเดียวกัน ซึ่งสำคัญที่สุดคือ คุณพ่อหรือคุณแม่ควรจะอยู่กับน้อง ในการใช้กรรไกร โดยเริ่มจากการฝึกจับกรรไกรให้ถูกต้อง การออกแรงถ่างกรรไกรด้วยมือเดียว เมื่อเด็กๆจับอย่างถูกต้องได้แล้ว อาจให้เริ่มจากตัดกระดาษตามเส้นตรง ด้วยความยาวประมาณ 15 ซม. ก่อนจะค่อยๆขยับเป็นนรูปทรงสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม หรือรูปร่างที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตามทักษะ และอาจต่อยอดขึ้นงานศิลปะอย่างการตัดกระดาษเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น ตัดวงกลม แล้วนำมาเเปะเป็นรูปภาพ ดอกไม้ หรือพระอาทิตย์ หรือรูปอื่นๆตามจินตนาการเด็กๆ ก็ได้ . . อย่าลืมที่จะชื่นชมผลงานที่ลูกทำด้วยนะคะ เพราะคำชมเล็กๆน้อยจากคุณฑ่อคุณแม่ ถือเป็นกำลังใจที่ยิ่งใหญ่สำหรับลูกน้อยเลยล่ะค่ะ

ทำอย่างไรเมื่อลูก เอาแต่ใจ

ทำอย่างไรเมื่อลูก เอาแต่ใจ

ทำอย่างไรเมื่อลูก เอาแต่ใจ ไม่เฉพาะเพียงแต่สิ่งที่ถูกสอนถึงจะเกิดการเรียนรู้ แต่ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ไม่ถูกสอนก็เกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาต่อไปเป็นนิสัยได้เหมือนกัน   คุณพ่อคุณแม่เคยเจอเหตุการณ์เช่นนี้หรือไม่?   ขัดใจปุ๊ปร้องไห้ปั้ป หนักๆเข้าก็ลงไปดิ้นกับพื้นจนกว่าพ่อแม่จะยอมทำในสิ่งท่ี่ลูกต้องการ   เพราะเด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่ยังเป็นทารก คือเมื่อรู้สึกว่าตัวเองหิว เมื่อร้องไห้แล้วมีน้ำนมให้กิน เด็กจะเรียนรู้ว่า หิวให้ร้องแล้วจะได้กินนมให้อิ่ม เมื่อทำซ้ำจึงเกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เมื่อต้องการอะไรมากๆ ก็ให้เพิ่มความต้องการให้รุนแรงขึ้นไปอีก และหากพ่อแม่ใจอ่อน ยอมตกหลุมพรางความต้องการโดยปราศจากเหตุผลนั้นแล้ว ก็จะทำให้เด็กๆ เรียนรู้ได้เองตามธรรมชาติ ถึงวิธีสนองความต้องการ คือแสดงพฤติกรรมทีทรุนแรงมากขึ้น จนพัฒนากลายเป็นนิสัยเมื่อเติบโตขึ้น . . ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ธรรมชาติของเด็กวัยนี้ (ช่วง 6 ขวบแรก) เป็นช่วงของการเรียนรู้ การเอาแต่่ใจ และการยอมรับฟัง ที่จะเกิดขึ้นผสมผสานกันไป เป็นช่วงที่พ่อแม่ห้ามใจอ่อน และต้องเริ่มฝึกให้เขาไม่ติดนิสัยการเอาแต่ใจ . . แล้วจะเเก้ไขอย่างไรดีคะ?   ต้องเริ่ีมฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองตั้งแต่ยังเล็ก (เริ่มตอน2ขวบ) เริ่มใส่เสื้อผ้าเอง กินข้าวเอง พาไปเจอเพื่อนในวัยเดียวกันเพื่อให้เกิดเรียนรู้ การแบ่งปัน การได้รับการให้ เวลาที่ลูกร้องไห้โวยวายเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ (ประเภทลงไปดิ้นกับพื้น) สิ่งแรกที่ควรทำคือ การเข้าไปกอดลูกไว้…

สอนทำการบ้าน หลังเลิกเรียน

ลูกทำการบ้าน…เป็นเรื่องง่าย!

ถึงแม้ว่าเด็กๆ จะปิดเทอมกันแล้ว แต่ที่โรงเรียนก็ฝากการบ้านปิดเทอมมาให้ลูกฝึกฝน เราก็ไม่อยากบังคับ แต่ปล่อยไว้ก็คงจะไม่่ได้ทำแน่ๆ วันนี้เรามาดูเคล็ด(ไม่)ลับ ที่จะช่วยลูกทำการบ้าน…ให้เป็นเรื่องง่าย!  กันดีกว่าค่ะ   ลูกทำการบ้าน…เป็นเรื่องง่าย!   จัดมุมโปรด ให้โดนใจ โต๊ะควรมีขนาดพอเหมาะกับผู้นั่ง มีเเสงไฟที่สว่างเหมาะกับการอ่านหนังสือ และควรจัดวางอุปกรณ์ต่างๆบนโต๊ะให้เป็นที่เป็นทาง เพราะสะดวกต่อการหยิบใช้   อุปกรณ์ต้องครบ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการทำการบ้านก็คือ อุปกรณ์เครื่องเขียน ไม่ว่าจะเป็นดินสอ ยางลบ ปากกา สีต่างๆ เพื่อไม่ให้อารมณ์ขาดตอน หรือเป็นข้ออ้างในการทำการบ้าน ควรเตรียมอุปกรณ์ให้ครบครัน   ห่างไกลอุปกรณ์อิเลคโทรนิค บ่อยครั้งที่เด็กๆถูกดึงดูดความสนใจด้วยโทรทัศน์ อุปกรณ์สื่อสาร และคอมพิวเตอร์ เพราะนอกจากมันจะุดูดเวลาไปโดยไม่รู้ตัวแล้ว แสงจากอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ต่างๆนั้น มีผลกระทบต่อดวงตา อาจทำให้เหนื่อยล้าจนไม่อยากทำการบ้านต่อ   เวลาที่ใช่ ควรจัดเวลาทำการบ้านให้กับลูก แต่ก็ไม่ควรถึงกับ Fix เรื่องเวลาเป็นตัวเลขซะทีเดียว อาจเป็นช่วง“ช่วงเวลา” เช่นหลังอาบน้้ำ หลังจากกลับถึงบ้าน หรือก่อนเวลาอาหารเย็น  แบ่งเวลาให้ดี เพื่อจะได้มีเวลาไปทำอย่าง อื่นด้วย มองหาตัวช่วย ไม่ใช่ทุกครั้งที่เด็กๆ จะสามารถทำการบ้านได้เอง เพราะการบ้านที่เด็กๆ ได้มานั้นคือบทเรียนที่ช่วยฝึกฝนให้เขาเก่งขึ้น…

บีบมือหรือด่าทอ

จะบีบมือหรือด่าทอ

จะบีบมือหรือด่าทอ!? บางครั้งเด็กๆ ก็มีวิธีการจัดการในแบบของเขา ซึ่งบางครั้งมันเวิร์คกว่าผู้ใหญ่อย่างเราๆเสียอีก ครั้งนึงเราเคยทำงานเป็นครูพี่เลี้ยงเด็กในค่าย ที่เป็นทั้งโค้ช เป็นทั้งพี่เป็นทั้งเพื่อน ให้กับเด็กๆ ซึ่งในแต่ละวัน ก็จะมีโจทย์ความท้าทายที่ช่วยทดสอบอารมณ์และจิตใจเด็กๆ ให้เติบได้เรียนรู้แต่ละวันที่เขาเติบโต . บ่อยครั้งที่ความผิดพลาดถูกซ้ำเติม จนกลายเป็นความผิดหวัง แต่จะผิดหวังจากอะไรก็ไม่เท่าความผิดหวังจากตัวเอง เพราะนั่นหมายความเราไม่มีความภูมิใจในตัวเองเหลืออยู่เลย ความเสียใจ ความโกรธเกลียดตัวเองประดังเข้ามาจนไม่รู้จะระบายออกอย่างไร . . น้องเค(นามสมมุติ) ร่วมทำกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อน แต่น้องเคทำออกมาได้ไม่ดีนัก จึงถูกเพื่อนๆว่า และออกเดินออกมาจากกิจกรรมนั้น ด้วยความรู้สึก2อย่าง คือ โกรธและผิดหวัง เมื่อดูเผินๆ เราจะรู้สึกว่า น้องโกรธและผิดหวังที่เพื่อนๆมองเขาแบบนี้ . แต่หากเราจะมองให้ลึกลงไปอีกสักนิด ในการแสดงออกที่ดูเหมือนเด็กทะเลาะกันนั้น แท้จริงมีอาจมีเหตุผลมากกว่านั้น ความโกรธที่ไม่ได้แสดงออกด้วยการทำร้ายผู้อื่น ความผิดหวังที่ผลักออกมาเป็นน้ำตา มันไม่ใช่เรื่องเด็กทะเลาะกัน แต่มันคือเรื่องความภูมิใจในตัวเองที่วันนี้น้องไม่มีเหลือเลย ด้วยพื้นฐานน้องที่ใช้เวลาปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆได้ค่อนข้างช้ากว่าคนอื่น และมีลักษณะนิสัยที่ชอบอยู่คนเดียว ทำอะไรคนเดียวแล้วนั้น การแยกตัวออกระบายอารมณ์คนเดียว นับเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง . น้องเคที่กำลังโกรธเริ่มขว้างเก้าอี้เสียงดัง ในฐานะครูพี่เลี้ยงจึงตั้งใจจะเข้าไปพูดคุยกับน้อง แต่น้องซี(นามสมมุติ) เข้ามาบอกว่า “อย่าพึ่งเข้าไปดีกว่าครับพี่” เด็กน้อยอายุ9ขวบพูดพร้อมกับสายตาที่จ้องไปที่เพื่อน “ผมเห็นเขาเริ่มไม่มีเเรงขว้างแล้ว เขาคงเริ่มเหนื่อยแล้ว รอให้เค้าหยุดขว้างค่อยเข้าไปคุยดีกว่า”  …

ทำไมต้องเกรี้ยวกราด

ทำไมต้องเกรี้ยวกราด

#ทำไมต้องเกรี้ยวกราด เเฮชเเทคอารมณ์ขันหยอกล้อทีเล่นทีจริง เพื่อแสดงอารมณ์และเจตนารมณ์บางอย่าง ซึ่งส่วนใหญ่มักออกมาในรูปแบบน่ารักๆ เชิง พูดเเซวเล่นเหมือนเด็กงอแงไม่ได้ของเสียมากกว่า   แต่เด็กที่งอแงร้องแสดงพฤติกรรมความไม่พอใจนั้น รักไม่ใช่รูปแบบของความเกรี้ยวกราดที่เเสดงออกมาข้างต้น เพราะนั่นอาจเป็นวิธีระบายความโกรธหรือความคับเเค้นใจบางอย่างซึ่งเป็นอารมณ์ที่ควบคุมได้ยากในเด็กเล็ก   การร้องแสดงความไม่พอใจในเด็กเล็ก เป็นพัฒนาการปกติที่เด็กกำลังเรียนรู้การควบคุมตัวเอง โดยพบบ่อยในช่วง2-3ปีเเรก พบว่าร้อยละ 50 ถึง 80 มีการร้องอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และจะค่อยค่อยลดลงจนเมื่ออายุ 4ปี โดย ส่วนใหญ่การร้องแบบอาละวาดนั้นจะไม่เกิน 5 นาที ไม่ใช่เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องวิตกแต่อย่างใด   แต่หากเด็กๆที่อายุมากกว่า4ปี ยังคงมีพฤติกรรมดังนี้อยู่ อาจส่งผลต่อการพัฒนาการ การควบคุมอารมณ์ในอนาคตได้ค่ะ ร้องตั้งแต่3 ครั้งขึ้นไปต่อวันและแต่ละครั้งร้องนานเกิน 15 นาที มีพฤติกรรมอย่างอื่นร่วมด้วยเช่นมีปัญหาการนอนปัญหาการเรียนหรือมีปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อน ทำลายข้าวของ ทำร้ายตนเองหรือทำร้ายผู้อื่นร่วมด้วย ✏️เเนวทางป้องกันและเเก้ไข -การเเจ้งล่วงหน้า หลายครั้งที่ให้เด็กหยุดการทำกิจกรรมกระทันหัน อาจกระตุ้นให้เด็กไม่พอใจ ควรแจ้งเตือนก่อนถึงเวลาให้เด็กหยุดกิจกรรมนั้นจริงๆ -เปิดโอกาสให้เด็กได้ตัดสินใจและในตัวเลือกนั้นพ่อเเม่ต้องยอมรับได้ -หลีกเลี่ยง สิ่งที่ทำให้เด็กหงุดหงิดหากเป็นสิ่งไม่จำเป็นเช่นกิจกรรมเกินความสามารถของเด็กหากเด็กเริ่มหงุดหงิดให้บ่ายเบี่ยงไปทำอย่างอื่นแทน -ให้ความสนใจทางบวกแก่เด็กเสมอ เช่นชมเชยเมื่อเขามีพฤติกรรมที่ดีเพื่อเป็นแรงจูงใจให้เขาทำพฤติกรรมที่ดีมากขึ้น -พ่อแม่ควรนิ่งสงบไม่ควรตะโกนหรือแสดงอาการโกรธให้เด็กเห็นเพราะจะยิ่งทำให้เด็กอาละวาดมากขึ้น -เมื่อเด็กสงบแล้ว อย่าปล่อยผ่าน ให้เข้าไปคุยกับเด็กปกติ หากเป็นเด็กโตอาจพูดคุยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในวิธีการแก้ไขในครั้งต่อไป   แม้การร้องแสดงความไม่พอใจจะเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการที่ปกติ…

ทำยังไงดีคะ? ลูกร้องไห้ไม่หยุดเลยเวลาไปโรงเรียน

ทำยังไงดีคะ? ลูกร้องไห้ไม่หยุดเลยเวลาไปโรงเรียน

ทำยังไงดีคะ? ลูกร้องไห้ไม่หยุดเลยเวลาไปโรงเรียน   อีกหนึ่งปัญหาหนักอกของคุณแม่ ที่เหมือนใจจะขาดไปด้วยเมื่อต้องไปส่งลูกๆ เข้าโรงเรียน แต่ลูกตัวน้อยของคุณกลับร้องไห้ไม่หยุด ทั้งๆที่เมื่อวานก็ยังโอเคอยู่เลย   เป็นเรื่องธรรมดาของความคุ้นชินของเด็กๆ ที่ต้องห่างพ่อห่างแม่ หรือสถานที่อยู่จากบ้านมาอยู่ที่โรงเรียน จากพ่อแม่มาเป็นครู หรือจากพี่เลี้ยง คุณตายายมาเป็นเพื่อน บรรยากาศที่ไม่คุ้นชิน อาจสร้างความหวาดกลัวเล็กๆ ขึ้นมาในใจของเด็กๆได้ คุณพ่อคุณแม่ อาจเริ่มจากการพาลูกไปสร้างความคุ้นเคยกับโนงเรียนในสถานที่ต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น ไปสนามเด็กเล่น จะได้เล่นเครื่องเล่นสนุกๆกับเพื่อนใหม่ๆ     พูดถึงข้อดีของโรงเรียน เช่น หากลูกว่าลูกว่ายน้ำ อาจพูดกับลูกว่าที่โรงเรียนนี้มีสระว่ายน้ำขนาดใหญ่ที่หนูชอบด้วยนะ หรืออาจเป็นชุดยูนิฟอร์มตัวสวยที่เหมาะกับหนูมากๆ   การให้เด็กๆ พักผ่อนให้เพียงพอและได้รับอาหารที่เหมาะสมก่อนมาโรงเรียน เพราะการอดนอนอาจส่งผลต่อารมณ์ของเด็กๆ ที่อาจทำให้เริ่มต้นวันใหม่ได้อย่างไม่สดใสนัก   สร้างบรรยากาศให้ลูก บางครั้งลูกอาจยังไม่ชินหรือรู้สึกไม่ปลอดภัยกับสถานที่ใหม่ๆ ของใช้ส่วนตัวของลูก อย่างกระติกน้ำ กล่องดินสอ จะลดความไม่คุ้นชินลงไปได้   ติดตามข่าวสาร ทางโรงเรียนมักมีกิจกรรม หรือข่าวต่างๆ ภายในโรงเรียนที่อาจเป็นประโยชน์โดยตรงหรือทางอ้อมให้ลูกๆ ได้ เช่นเพื่อการชักจูงให้ลูกอยากมาโรงเรียน   ทำความรู้จักกับครูประจำชั้นเรียนและผู้ปกครองคนอื่น เพื่อฝากฟังดูแล สอบถามพฤติกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในโรงเรียน เพื่อช่วยกันแก้ไข…

เพิ่มความมั่นใจให้ลูกน้อยด้วยเทคนิคง่ายๆ

เพิ่มมั่นใจให้ลูกน้อยด้วยเทคนิคง่ายๆ

เพิ่มมั่นใจให้ลูกน้อยด้วยเทคนิคง่ายๆ   เด็กสมัยนี้การแสดงออกมากขึ้นกว่าแต่ก่อน โดยคุณพ่อคุณแม่จะเริ่มสังเกตุได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อเด็กอายุ 4-5  ขวบ ทำให้เห็นความแตกต่างค่อนข้างชัดระหว่างเด็กขี้อาย กับเด็กที่กล้าแสดงออก เพราะเป็นวัยที่เด็กๆเริ่มเข้าโรงเรียนและช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว แต่เมื่อเด็กโตขึ้น ความขี้อายก็จะเริ่มลดลง และกล้าคิด กล้าทำ ในเรื่องต่างๆด้วยตัวเองมากขึ้นเอง วันนี้เราจะมาบอกเคล็ดลับที่ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเด็กๆ กันค่ะ   เริ่มต้นด้วยเรื่อยง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน อย่างการให้ลูกได้เลือกหยิบเสื้อผ้าใส่เอง โดยอาจจะกำหนดเป็นธีมง่ายๆว่า วันนี้คุณพ่อคุณแม่จะพาไปสวนน้ำ ลูกอยากใส่ชุดอะไรไปสวนน้ำกับคุณแม่ดีคะ ซึ่งเรื่องใกล้ตัวแบบนี้จำช่วยให้น้องสามารถตัดสินใจเรื่องในอนาคตได้   ให้อิสระกับลูก พูดคุยกับลูกบ่อยๆ ว่าเขาอยากทำอะไร ลองพาเขาไปทำในสิ่งที่เขาอยากทำ  เพราะบางครั้งการที่ลูกขี้อาย อาจเพราะเขารู้สึกไม่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำ ดังนั้นการปล่อยให้เขาได้ทำในสิ่งที่อยากทำ จะช่วยให้เขาค่อยๆกล้าแสดงออกมาขึ้น แต่ก็ไม่ใช่การตามใจไปซะทุกเรื่องนะคะ แนะนำตัวเอง  เด็กหลายคนขี้อายเพราะไม่รู้จะทำตัวยังไงเมื่อต้องเจอคนที่ไม่รู้จัก การหัดให้เขาทักทายด้วยการสวัสดี จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะช่วยทำลายกำเเพงความขี้อายนั้นลงได้ หรือหัดให้ลูกพูดโต้ตอบกับคนอื่นๆ เช่นเมื่อถูกถามว่าหนูชื่ออะไร ให้หนูตอนชื่อตัวเอง และลองถามว่าเค้าชื่ออะไรกลับบ้าง เวลาที่ลูกโต้ตอบกับคนอื่นได้ ก็ช่วยให้เขาไม่เกร็งเวลาต้องเจอคนแปลกหน้าใหม่ๆ ฝึกลูกให้รู้จักรับผิดชอบการเเบ่งปันหน้าที่รับผิดชอบง่ายๆ เข่น การทิ้งขยะ ช่วยคุณแม่เก็บจาน และกล่าวชมเชย ให้กำลังใจแล้ว จะช่วยให้ลูกรู้สึกภูมิใจในตัวเอง เมื่อเด็กรู้สึกมีความมั่นใจในการทำอะไรแล้ว ก็ค่อยๆฝึกให้เขาทำเช่นนีเนอกบ้านบ้าง เช่นที่โรงเรียน…