จะบีบมือหรือด่าทอ!?
บางครั้งเด็กๆ ก็มีวิธีการจัดการในแบบของเขา ซึ่งบางครั้งมันเวิร์คกว่าผู้ใหญ่อย่างเราๆเสียอีก
ครั้งนึงเราเคยทำงานเป็นครูพี่เลี้ยงเด็กในค่าย ที่เป็นทั้งโค้ช เป็นทั้งพี่เป็นทั้งเพื่อน ให้กับเด็กๆ ซึ่งในแต่ละวัน ก็จะมีโจทย์ความท้าทายที่ช่วยทดสอบอารมณ์และจิตใจเด็กๆ ให้เติบได้เรียนรู้แต่ละวันที่เขาเติบโต
.
บ่อยครั้งที่ความผิดพลาดถูกซ้ำเติม จนกลายเป็นความผิดหวัง แต่จะผิดหวังจากอะไรก็ไม่เท่าความผิดหวังจากตัวเอง เพราะนั่นหมายความเราไม่มีความภูมิใจในตัวเองเหลืออยู่เลย ความเสียใจ ความโกรธเกลียดตัวเองประดังเข้ามาจนไม่รู้จะระบายออกอย่างไร
.
.
น้องเค(นามสมมุติ) ร่วมทำกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อน แต่น้องเคทำออกมาได้ไม่ดีนัก จึงถูกเพื่อนๆว่า และออกเดินออกมาจากกิจกรรมนั้น ด้วยความรู้สึก2อย่าง คือ โกรธและผิดหวัง เมื่อดูเผินๆ เราจะรู้สึกว่า น้องโกรธและผิดหวังที่เพื่อนๆมองเขาแบบนี้
.
แต่หากเราจะมองให้ลึกลงไปอีกสักนิด ในการแสดงออกที่ดูเหมือนเด็กทะเลาะกันนั้น แท้จริงมีอาจมีเหตุผลมากกว่านั้น ความโกรธที่ไม่ได้แสดงออกด้วยการทำร้ายผู้อื่น ความผิดหวังที่ผลักออกมาเป็นน้ำตา มันไม่ใช่เรื่องเด็กทะเลาะกัน แต่มันคือเรื่องความภูมิใจในตัวเองที่วันนี้น้องไม่มีเหลือเลย ด้วยพื้นฐานน้องที่ใช้เวลาปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆได้ค่อนข้างช้ากว่าคนอื่น และมีลักษณะนิสัยที่ชอบอยู่คนเดียว ทำอะไรคนเดียวแล้วนั้น การแยกตัวออกระบายอารมณ์คนเดียว นับเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง
.
น้องเคที่กำลังโกรธเริ่มขว้างเก้าอี้เสียงดัง ในฐานะครูพี่เลี้ยงจึงตั้งใจจะเข้าไปพูดคุยกับน้อง แต่น้องซี(นามสมมุติ) เข้ามาบอกว่า
“อย่าพึ่งเข้าไปดีกว่าครับพี่” เด็กน้อยอายุ9ขวบพูดพร้อมกับสายตาที่จ้องไปที่เพื่อน
“ผมเห็นเขาเริ่มไม่มีเเรงขว้างแล้ว เขาคงเริ่มเหนื่อยแล้ว รอให้เค้าหยุดขว้างค่อยเข้าไปคุยดีกว่า”
อีกไม่กี่อึดใจน้องเคก็เหมือนใจหมดแรง ก่อนล้มลงนอนเเผ่กลางพื้น เราและครูพี่เลี้ยงท่านอื่นๆ เตรียมเข้าไปคุย แต่ก็ต้องเบรคกันตัวโก่ง เมื่อน้องซีขอเข้าไปคุยกับเพื่อนเอง เราและครูพี่เลี้ยงท่านอื่นๆ ได้แต่ยืนดูพฤติกรรมอยู่ห่างๆ อย่างห่วงๆ เพราะดูเหมือนอารมณ์ของน้องเคจะไม่หยุดนิ่งซะทีเดียว มียอมต่อยกำเเพงบ้าง มียอมยืนจับมือกับเพื่อนบ้าง จนสุดท้ายน้องยอมเดินไปนั่งอย่างสงบและน้องซีก็ถอยออกมาเล่าเหตุการณ์ให้ฟัง
.
น้องเคโกรธตัวเองที่ทำไม่ได้อย่างที่ใจต้องการ ซ้ำยังถูกคนรอบข้างตอกย้ำให้ความผิดหวังนั้นทวีคูณขึ้นไปอีก จึงไประบายอารมณ์ออกด้วยการขว้างเก้าอี้จนแทบจะหมดแรง แต่ความเสียใจหรือรู้สึกโกรธตัวเองนั้น ยังคงเป็นเหมือนบาดเเผลที่เปิดอยู่
“ถ้าเค้าต่อยกำเเพง ผมกลัวเค้าจะเจ็บมือครับ” น้องซียกเเขนที่เป็นรอยเเดงให้ดู “ผมเลยให้เขาบีบเเขนผมเเทน” คำพูดของน้องซีทำเอาเราและครูพี่เลี้ยงคนอื่นๆอึ้งกันไปตามๆกัน
น้องซีเลือกที่จะฟังความรู้สึกน้องเคอย่างใจเย็น พร้อมๆกับให้น้องเคได้ระบายความรู้สึกที่ถูกถ่ายออกมาผ่านการบีบมือ แม้มือที่บีบเพื่อนจะเเรงพอๆกับที่ต่อยกำเเพง แต่สีหน้าน้องซีก็ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยความเห็นอกเห็นใจ และพร้อมกระตุ้นให้น้องเคระบายออกมาให้หมดเปลือก
“นายยังโกรธอยู่มั้ย ถ้าโกรธอยู่ก็บีบอีก” น้องซีกระทุ้งเพื่อนต่อจน น้องเคค่อยๆคลายมือจาก น้องซีออกก่อนที่จะยอมเดินตามเพื่อนไปนั่งคุยกันอีกมุมนึงของห้อง
.
.
.
คนเราเติบโตได้ด้วยการเรียนรู้ ปรับตัวและเเก้ไข ไม่เฉพาะการที่เด็กเรียนรู้จากผู้ใหญ่ แต่ผู้ใหญ่ก็ได้เรียนรู้เเละเข้าใจเพื่อให้เราได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เข้าใจเด็กมาขึ้นผ่านการรับฟัง มากกว่าการพูดสอน
.
.
ในวันที่เด็กๆเเสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารักคุณบีบมือหรือว่าด่าทอ!?
คุณกำลังรับฟังอย่างเข้าใจเขารึเปล่า