สอนเด็กใช้กรรไกร สำหรับงานศิลปะ

อย่าให้เด็กเล่นกรรไกรมันอันตราย

อย่าให้เด็กเล่นกรรไกรมันอันตราย! หลายครั้งที่เรามักเคยได้ยินญาติผู้ใหญ่ คอยดุเตืิอนเสมอ ที่เด็กๆหยิบกรรไกรขึ้นมา ราวกับว่าเป็นเข็มอาบยาพิษของแม่มดที่กลัวออโรร่าจะไปจับยังไงอย่างงั้น . . แต่หากเรามองในเรื่องของการพัฒนาทักษะพึงมีของเด็กๆแล้วล่ะก็ กรรไกรถือเป็นอุปกรณ์ที่ท้าทายอย่างหนึ่งที่ช่วยฝึกทั้งกล้ามเนื้อมือมัดเล็ก ไปพร้อมๆกับการฝึกสมาธิได้ในคราวเดียวกัน ซึ่งสำคัญที่สุดคือ คุณพ่อหรือคุณแม่ควรจะอยู่กับน้อง ในการใช้กรรไกร โดยเริ่มจากการฝึกจับกรรไกรให้ถูกต้อง การออกแรงถ่างกรรไกรด้วยมือเดียว เมื่อเด็กๆจับอย่างถูกต้องได้แล้ว อาจให้เริ่มจากตัดกระดาษตามเส้นตรง ด้วยความยาวประมาณ 15 ซม. ก่อนจะค่อยๆขยับเป็นนรูปทรงสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม หรือรูปร่างที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตามทักษะ และอาจต่อยอดขึ้นงานศิลปะอย่างการตัดกระดาษเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น ตัดวงกลม แล้วนำมาเเปะเป็นรูปภาพ ดอกไม้ หรือพระอาทิตย์ หรือรูปอื่นๆตามจินตนาการเด็กๆ ก็ได้ . . อย่าลืมที่จะชื่นชมผลงานที่ลูกทำด้วยนะคะ เพราะคำชมเล็กๆน้อยจากคุณฑ่อคุณแม่ ถือเป็นกำลังใจที่ยิ่งใหญ่สำหรับลูกน้อยเลยล่ะค่ะ

ทำอย่างไรเมื่อลูก เอาแต่ใจ

ทำอย่างไรเมื่อลูก เอาแต่ใจ

ทำอย่างไรเมื่อลูก เอาแต่ใจ ไม่เฉพาะเพียงแต่สิ่งที่ถูกสอนถึงจะเกิดการเรียนรู้ แต่ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ไม่ถูกสอนก็เกิดกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาต่อไปเป็นนิสัยได้เหมือนกัน   คุณพ่อคุณแม่เคยเจอเหตุการณ์เช่นนี้หรือไม่?   ขัดใจปุ๊ปร้องไห้ปั้ป หนักๆเข้าก็ลงไปดิ้นกับพื้นจนกว่าพ่อแม่จะยอมทำในสิ่งท่ี่ลูกต้องการ   เพราะเด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่ยังเป็นทารก คือเมื่อรู้สึกว่าตัวเองหิว เมื่อร้องไห้แล้วมีน้ำนมให้กิน เด็กจะเรียนรู้ว่า หิวให้ร้องแล้วจะได้กินนมให้อิ่ม เมื่อทำซ้ำจึงเกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ เมื่อต้องการอะไรมากๆ ก็ให้เพิ่มความต้องการให้รุนแรงขึ้นไปอีก และหากพ่อแม่ใจอ่อน ยอมตกหลุมพรางความต้องการโดยปราศจากเหตุผลนั้นแล้ว ก็จะทำให้เด็กๆ เรียนรู้ได้เองตามธรรมชาติ ถึงวิธีสนองความต้องการ คือแสดงพฤติกรรมทีทรุนแรงมากขึ้น จนพัฒนากลายเป็นนิสัยเมื่อเติบโตขึ้น . . ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ธรรมชาติของเด็กวัยนี้ (ช่วง 6 ขวบแรก) เป็นช่วงของการเรียนรู้ การเอาแต่่ใจ และการยอมรับฟัง ที่จะเกิดขึ้นผสมผสานกันไป เป็นช่วงที่พ่อแม่ห้ามใจอ่อน และต้องเริ่มฝึกให้เขาไม่ติดนิสัยการเอาแต่ใจ . . แล้วจะเเก้ไขอย่างไรดีคะ?   ต้องเริ่ีมฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองตั้งแต่ยังเล็ก (เริ่มตอน2ขวบ) เริ่มใส่เสื้อผ้าเอง กินข้าวเอง พาไปเจอเพื่อนในวัยเดียวกันเพื่อให้เกิดเรียนรู้ การแบ่งปัน การได้รับการให้ เวลาที่ลูกร้องไห้โวยวายเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ (ประเภทลงไปดิ้นกับพื้น) สิ่งแรกที่ควรทำคือ การเข้าไปกอดลูกไว้…

สอนทำการบ้าน หลังเลิกเรียน

ลูกทำการบ้าน…เป็นเรื่องง่าย!

ถึงแม้ว่าเด็กๆ จะปิดเทอมกันแล้ว แต่ที่โรงเรียนก็ฝากการบ้านปิดเทอมมาให้ลูกฝึกฝน เราก็ไม่อยากบังคับ แต่ปล่อยไว้ก็คงจะไม่่ได้ทำแน่ๆ วันนี้เรามาดูเคล็ด(ไม่)ลับ ที่จะช่วยลูกทำการบ้าน…ให้เป็นเรื่องง่าย!  กันดีกว่าค่ะ   ลูกทำการบ้าน…เป็นเรื่องง่าย!   จัดมุมโปรด ให้โดนใจ โต๊ะควรมีขนาดพอเหมาะกับผู้นั่ง มีเเสงไฟที่สว่างเหมาะกับการอ่านหนังสือ และควรจัดวางอุปกรณ์ต่างๆบนโต๊ะให้เป็นที่เป็นทาง เพราะสะดวกต่อการหยิบใช้   อุปกรณ์ต้องครบ สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการทำการบ้านก็คือ อุปกรณ์เครื่องเขียน ไม่ว่าจะเป็นดินสอ ยางลบ ปากกา สีต่างๆ เพื่อไม่ให้อารมณ์ขาดตอน หรือเป็นข้ออ้างในการทำการบ้าน ควรเตรียมอุปกรณ์ให้ครบครัน   ห่างไกลอุปกรณ์อิเลคโทรนิค บ่อยครั้งที่เด็กๆถูกดึงดูดความสนใจด้วยโทรทัศน์ อุปกรณ์สื่อสาร และคอมพิวเตอร์ เพราะนอกจากมันจะุดูดเวลาไปโดยไม่รู้ตัวแล้ว แสงจากอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ต่างๆนั้น มีผลกระทบต่อดวงตา อาจทำให้เหนื่อยล้าจนไม่อยากทำการบ้านต่อ   เวลาที่ใช่ ควรจัดเวลาทำการบ้านให้กับลูก แต่ก็ไม่ควรถึงกับ Fix เรื่องเวลาเป็นตัวเลขซะทีเดียว อาจเป็นช่วง“ช่วงเวลา” เช่นหลังอาบน้้ำ หลังจากกลับถึงบ้าน หรือก่อนเวลาอาหารเย็น  แบ่งเวลาให้ดี เพื่อจะได้มีเวลาไปทำอย่าง อื่นด้วย มองหาตัวช่วย ไม่ใช่ทุกครั้งที่เด็กๆ จะสามารถทำการบ้านได้เอง เพราะการบ้านที่เด็กๆ ได้มานั้นคือบทเรียนที่ช่วยฝึกฝนให้เขาเก่งขึ้น…

บีบมือหรือด่าทอ

จะบีบมือหรือด่าทอ

จะบีบมือหรือด่าทอ!? บางครั้งเด็กๆ ก็มีวิธีการจัดการในแบบของเขา ซึ่งบางครั้งมันเวิร์คกว่าผู้ใหญ่อย่างเราๆเสียอีก ครั้งนึงเราเคยทำงานเป็นครูพี่เลี้ยงเด็กในค่าย ที่เป็นทั้งโค้ช เป็นทั้งพี่เป็นทั้งเพื่อน ให้กับเด็กๆ ซึ่งในแต่ละวัน ก็จะมีโจทย์ความท้าทายที่ช่วยทดสอบอารมณ์และจิตใจเด็กๆ ให้เติบได้เรียนรู้แต่ละวันที่เขาเติบโต . บ่อยครั้งที่ความผิดพลาดถูกซ้ำเติม จนกลายเป็นความผิดหวัง แต่จะผิดหวังจากอะไรก็ไม่เท่าความผิดหวังจากตัวเอง เพราะนั่นหมายความเราไม่มีความภูมิใจในตัวเองเหลืออยู่เลย ความเสียใจ ความโกรธเกลียดตัวเองประดังเข้ามาจนไม่รู้จะระบายออกอย่างไร . . น้องเค(นามสมมุติ) ร่วมทำกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อน แต่น้องเคทำออกมาได้ไม่ดีนัก จึงถูกเพื่อนๆว่า และออกเดินออกมาจากกิจกรรมนั้น ด้วยความรู้สึก2อย่าง คือ โกรธและผิดหวัง เมื่อดูเผินๆ เราจะรู้สึกว่า น้องโกรธและผิดหวังที่เพื่อนๆมองเขาแบบนี้ . แต่หากเราจะมองให้ลึกลงไปอีกสักนิด ในการแสดงออกที่ดูเหมือนเด็กทะเลาะกันนั้น แท้จริงมีอาจมีเหตุผลมากกว่านั้น ความโกรธที่ไม่ได้แสดงออกด้วยการทำร้ายผู้อื่น ความผิดหวังที่ผลักออกมาเป็นน้ำตา มันไม่ใช่เรื่องเด็กทะเลาะกัน แต่มันคือเรื่องความภูมิใจในตัวเองที่วันนี้น้องไม่มีเหลือเลย ด้วยพื้นฐานน้องที่ใช้เวลาปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆได้ค่อนข้างช้ากว่าคนอื่น และมีลักษณะนิสัยที่ชอบอยู่คนเดียว ทำอะไรคนเดียวแล้วนั้น การแยกตัวออกระบายอารมณ์คนเดียว นับเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง . น้องเคที่กำลังโกรธเริ่มขว้างเก้าอี้เสียงดัง ในฐานะครูพี่เลี้ยงจึงตั้งใจจะเข้าไปพูดคุยกับน้อง แต่น้องซี(นามสมมุติ) เข้ามาบอกว่า “อย่าพึ่งเข้าไปดีกว่าครับพี่” เด็กน้อยอายุ9ขวบพูดพร้อมกับสายตาที่จ้องไปที่เพื่อน “ผมเห็นเขาเริ่มไม่มีเเรงขว้างแล้ว เขาคงเริ่มเหนื่อยแล้ว รอให้เค้าหยุดขว้างค่อยเข้าไปคุยดีกว่า”  …